โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”

 1. หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาของประเทศไทยจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันในการเสริมสร้างความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียน รูปแบบการจัดการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และเป้าหมายการรวมกลุ่มเป็นภูมิภาคอาเซียน โดยเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระพื้นฐาน และสามารถนำสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของสื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในมิติต่างๆ โดยเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เพราะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียนเท่านั้น ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่

บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด และเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำสื่อดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการนำสื่อดิจิทัลไปเผยแพร่ในวงกว้างและก่อให้เกิดประโยชน์แก่วงการศึกษาต่อไป

2. วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการเร่งรัดพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและเผยแพร่นวัตกรรมการสอนของครู ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. กลุ่มเป้าหมาย
ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

4. ระยะเวลาการดำเนินการ
กรกฎาคม 2555  – กุมภาพันธ์ 2556

5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม
นายพูนศักดิ์  สักกทัตติยกุล
โทรศัพท์ : 081-869-3782 อีเมล : [email protected]
บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด แฟกซ์ : 0-2622-1911
นางสาวสมปอง  อมรสิทธิวงศ์
โทรศัพท์ : 0-2622-2999 ต่อ 1514   อีเมล : [email protected]
นางสาวบุณยาพร  ฉิมพลอย
โทรศัพท์ : 0-2622-2999 ต่อ 1538   อีเมล : [email protected]

6. งบประมาณ
สนับสนุนโดย บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครูมีโอกาสพัฒนานวัตกรรมการสอนและเผยแพร่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูอื่น ๆ
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตามคุณลักษณะของเยาวชนอาเซียน
นวัตกรรมการสอนของครูได้รับการเผยแพร่ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

8. หลักเกณฑ์การประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”
คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
เป็นครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกสังกัด
จัดตั้งเป็นทีมในการส่งผลงานเข้าประกวด โดยมีหัวหน้าทีมและมีสมาชิกในทีมได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องเป็นครูผู้สอนที่มาจากโรงเรียนเดียวกัน
ทีมที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ต้องมีสถานะเป็นครูผู้สอนอยู่ในโรงเรียนตามที่ผู้บริหารรับรองในใบสมัคร ณ วันที่สมัคร
รูปแบบผลงานในการส่งประกวด
สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้เรียนการสอนอาเซียน ต้องเป็นนวัตกรรมที่ครูผู้สอนพัฒนาขึ้นมาเอง โดยมิได้มีการลอกเลียนแบบมาจากที่ใด และต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับรางวัลจากหน่วยงานใดๆ มาก่อนในระดับสูงกว่าระดับจังหวัด
ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง รูปแบบตัวอักษร ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำมาใช้ในสื่อดิจิทัล ต้องเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ส่งผลงาน หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นลายลักษณ์อักษร
ซอฟต์แวร์ที่ผู้ส่งประกวดนำมาใช้ในการจัดทำสื่อดิจิทัลต้องเป็นฟรีแวร์ หรือเป็นเจ้าของโดยถูกต้องตามกฎหมาย
หากตรวจพบว่าไม่เป็นไปตามข้อ 1. ข้อ 2. และ/หรือ ข้อ 3. ถือว่าขาดคุณสมบัติในการเข้าประกวด และถือว่าสละสิทธิ์ แม้จะประกาศผลไปแล้ว ทางคณะกรรมการสามารถเรียกคืนรางวัลได้
ผู้ส่งผลงานเป็นผู้รับผิดชอบด้านลิขสิทธิ์ของข้อมูลทุกชนิดในผลงาน ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทั้งหมดอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมทั้งขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล
ตัวอย่างสื่อดิจิทัล ได้แก่ สื่อประสม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ภาพยนตร์ เว็บเพจ เว็บออนไลน์ เป็นต้น ในกรณีที่เป็นสื่อออนไลน์ และต้องมีชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ผู้ส่งผลงานต้องแจ้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านมาด้วยเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบ
การส่งผลงาน
ส่งใบสมัคร โดยดำเนินการดังนี้
ดาวน์โหลดใบสมัครที่เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม (www.thaigoodview.com) หรือเว็บไซต์บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด (www.aksorn.com) ดาวโหลดใบสมัคร
กรอกข้อมูลในใบสมัครให้ครบถ้วน ตามรูปแบบที่กำหนดในใบสมัคร พร้อมเอกสารคำรับรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้บริหารลงนามรับรองเรียบร้อยแล้ว
อัพโหลด (upload) ใบสมัครที่กรอกเรียบร้อยแล้วเข้ามาที่เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม (www.thaigoodview.com) ภายในวันที่ 30 กันยายน 2555  อัพโหลด (upload) ใบสมัคร
แต่ละโรงเรียนสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้หลายทีม
ผู้สมัครต้องจัดทำและทดลองใช้สื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนศึกษา
ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ประกอบด้วย
ในกรณีที่เป็นสื่อแบบออฟไลน์ให้บรรจุสื่อลงในแผ่น CD หรือ DVD
ในกรณีที่เป็นสื่อแบบออนไลน์ให้ส่ง username และ password เพื่อให้คณะกรรมการเข้าไปดูผลงานได้
เอกสารคู่มือแสดงวิธีการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”
แผนการจัดการเรียนรู้ที่แสดงถึงการนำสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา” ไปใช้
พิมพ์เอกสารคู่มือแสดงวิธีการใช้ แผนการจัดการเรียนรู้ และส่วนประกอบทั้งหมดลงในกระดาษขนาด A4 พร้อมทั้งสำเนา File ลงในแผ่น CD จำนวน 1 แผ่น
ส่งผลงาน โดยมีรายละเอียดดังข้อ 3.4 พร้อมด้วยใบสมัครและเอกสารคำรับรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้บริหารลงนามรับรองเรียบร้อยแล้ว ตัวจริง มาทางไปรษณีย์ โดยส่งมาที่
ฝ่ายวิชาการ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด
142 ถ.ตะนาว  แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ  เขตพระนคร  กรุงเทพฯ 10200
(เขียนวงเล็บที่มุมซองว่า โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”)
หมดเขตรับผลงาน วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 (การส่งทางไปรษณีย์จะดูวันที่ในตราประทับของไปรษณีย์เป็นสำคัญ)
การตัดสินรางวัล
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานรอบแรกภายในเดือนพฤศจิกายน โดยคัดเลือกผลงานที่เข้ารอบ จำนวน 5 ชิ้น
รางวัล มีดังต่อไปนี้
รางวัลชนะเลิศ
– โรงเรียนของทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เกียรติบัตร และหนังสือห้องสมุด มูลค่า 10,000 บาท
– ทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
– โรงเรียนของทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตร และหนังสือห้องสมุด มูลค่า 10,000 บาท
– ทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
– โรงเรียนของทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตร และหนังสือห้องสมุด มูลค่า 10,000 บาท
– ทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย มี 2 รางวัล
– โรงเรียนของทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตร และหนังสือห้องสมุด มูลค่า 10,000 บาท
– ทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
ผู้สมัครที่ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการจะได้รับเกียรติบัตร พร้อมหนังสือรับรองผลงานทางวิชาการ ทุกท่าน
ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนผลงาน และสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา หรือเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้ทุกรูปแบบ โดยปราศจากข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของผลงานยังคงเป็นของเจ้าของผลงาน การนำไปใช้ต้องถูกอ้างอิงอย่างถูกต้อง ผู้สนับสนุนและผู้ดำเนินโครงการไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาสาระ และผลงานดังกล่าว
การตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นอันยุติและสิ้นสุด
เกณฑ์การคัดเลือกผลงานเพื่อพิจารณาตัดสิน และให้คะแนน
การคัดเลือกสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”  คณะกรรมการจะคัดเลือกสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา” โดยใช้เกณฑ์ ดังต่อไปนี้

องค์ประกอบด้านวิชาการ (คะแนน ร้อยละ 50)
เนื้อหาสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
เนื้อหานำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนในมิติใดมิติหนึ่ง โดยมีความถูกต้องตามหลักวิชา ทันสมัย เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา ไม่มีประเด็นโต้แย้งที่ทำให้ผู้เรียนสับสน
การนำเสนอเนื้อหามีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของนักเรียน โดยสื่อที่ออกแบบมีความสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้
ความถูกต้องของตัวสะกด ภาษาที่นำเสนอต้องถูกต้อง ชัดเจน สื่อความหมาย อ่านเข้าใจง่าย ใช้ภาษาเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ใช้ศัพท์เฉพาะถูกต้อง
เนื้อหามีความยืดหยุ่น สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการจัดเรียงเนื้อหาที่น่าสนใจ ลำดับการเรียนและแบบฝึกได้เหมาะสม
มีการวัดประเมินผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม โดยใช้เครื่องมือและวิธีการประเมินผลที่มีความหลากหลาย และปริมาณเพียงพอที่สามารถตรวจสอบความเข้าใจบทเรียนด้วยตนเองได้
มีความคิดริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
องค์ประกอบด้านเทคนิคการนำเสนอสื่อ (คะแนน ร้อยละ 50)
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มีความเหมาะสม สวยงามตามความเป็นจริง ความเหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
ข้อความที่ใช้นำเสนอมีขนาดตัวอักษร ความหนาแน่น สี ตำแหน่ง ความสัมพันธ์ เหมาะสมกับผู้เรียน
ความสมบูรณ์ของเสียง ทั้งเสียงประกอบ เสียงบรรยาย เสียงดนตรี มีคุณภาพและเหมาะสม ชัดเจน น่าสนใจ ชวนคิด น่าติดตาม ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
การออกแบบด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมีความเหมาะสม และมีผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิด มีมุมมองเกี่ยวกับเนื้อหาที่เหมาะสม
การควบคุมหน้าจอ มีการออกแบบปุ่มควบคุมหน้าจอและกำหนดเส้นทางเดินของบทเรียนได้อย่างเหมาะสมเป็นระบบ สอดคล้องกับเนื้อหา
มีคู่มือการใช้โปรแกรม และคู่มือประกอบการเรียนการสอนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
ออกแบบหน้าจอได้เหมาะสม ง่ายต่อการใช้ สัดส่วนเหมาะสม สวยงาม
การอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูลที่ถูกต้อง

ที่มา http://www.thaigoodview.com/contestasean